เมื่ออาณาจักรฟูนันล่มสลายลงในพุทธศตวรรษที่ ๑๑ นั้น ดินแดนทางแหลมทองได้เกิดการตั้งอาณาจักรศรีวิชัย (จีนเรียก ชิลิโฟชิ หรือ คันโทลี หรือโคยิง) ขึ้นภายใต้การนำของราชวงศ์ ไศเลนทร์ มีอาณาเขตครอบคลุมแหลมมลายู เกาะชวา เกาะสุมาตรา ช่องแคบมะละกา ช่องแคบซุนดา และบริเวณภาคใต้ของประเทศไทย ทำให้อาณาจักรศรีวิชัยสามารถควบคุมเส้นทางค้าขายระหว่างจีนกับอินเดียรวมทั้งอาหรับ เปอร์เซีย และยุโรปได้
อาณาจักรศรีวิชัยนี้มีอาณาเขตตั้งแต่เมืองปาเล็มบังในเกาะสุมาตราของ อินโดนีเซียขึ้นมาถึงบริเวณแหลมโพธิ์ ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี และเมืองท่า(ตามพรลิงค์หรือตำพะลิงค์)ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช มีการพบศิลาจารึกภาษามาเลย์เกี่ยวกับอาณาจักรศรีวิชัยนี้ที่วัดเสมาเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ส่วน เมืองครหิ ในสมัยศรีวิชัยนั้นเป็นเมืองท่าค้าพริก ดีปลีและพริกไทยเม็ด โดยมีต้นหมากต้นมะพร้าวอยู่มาก แต่ก็ยังมีความเชื่ออยู่ว่าเมืองครหินั้นไม่น่าจะใช่เมืองไชยา กล่าวคือ ในหนังสือจู ฝาน จีน ของจีนเจา จู เกวาะ ได้ระบุชื่อเมืองต่างๆที่ขึ้นแก่อาณาจักรซัมฮุดซี หรือชาวกะ มีชื่อเมืองเกียโลหิ ซึ่งยุติชื่อว่าเป็นเมืองครหิ ตรงกับคำที่จารึก(ภาษาเขมร)ครหิที่อยู่บนฐานพระพุทธรูปนาคปรกสำริดองค์ใหญ่ ซึ่งพบอยู่ใกล้วัดเวียง เมืองไชยา ซึ่งเป็นสถานที่แห่งเดียวที่สุมาตราที่สั่งขึ้นมาให้อำมาตย์คลาไน ผู้ครองเมืองครหิจัดการหล่อขึ้นเมื่อพ.ศ.๑๗๒๖ ตรงกับมหาศักราช ๑๑๐๕ จึงมีข้อถกเถียงถึงว่า ครหิ นั้นเป็นการแสดงอำนาจทางเขมรหรือเกาะสุมาตรา ซึ่งน่าจะเป็น ครหิ ที่เกิดขึ้นหลังจาก อาณาจักรศรีวิชัยล่มสลายลงแล้วหรือไปขึ้นอยู่กับเมืองตามพรลิงค์ในพ.ศ.๑๗๐๐ ดังนั้นเมืองไชยานั้นคงจะไม่ใช่เมืองครหิและน่าจะเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัยเสียมากกว่าเมืองปาเล็มบัง
เมืองไชยานั้น ได้มีการสร้างเจดีย์แบบมหายาน ให้องค์เจดีย์เป็นรูปสีขระ แปลว่า แบบภูเขา คือเจดีย์ที่มียอดจำนวนมาก ตามคติให้มีพระพุทธเจ้าหลายพระองค์ เช่น พระพุทธเจ้าพุทธะ พระมัญชุศรี พุทธะ พระญาณิพุทธะ เป็นต้น ซึ่งตรงกับเรื่องราวที่ว่า พระเจ้ากรุงศรีวิชัยให้สร้างไอษฎิเคหะ คือ เรือนอิฐหรือปราสาทอิฐขึ้น ๓ หลัง สำหรับประดิษฐานพระปฏิมาของ ปัทมปาณี วัชรปาณี และมารวิชัย ในพื้นที่เมืองไชยาแห่งนี้ พบว่านอกจากจะสร้างเจดีย์ที่พระบรมธาตุแห่งนี้แล้วยังมี เจดีย์ที่วัดแก้ว ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าแต่ชำรุด และเจดีย์ที่วัดหลง เดิมนั้นเหลือแต่ฐานที่อิฐที่มีลักษณะเดียวกัน พระบรมธาตุไชยาองค์ปัจจุบันนี้ได้รับการบูรณะใหม่ เดิมนั้นเป็นเจดีย์ตั้งอยู่บนอุโมงค์ที่บรรจุหีบศิลาใบใหญ่ใส่พระบรมธาตุและสิ่งของต่างๆ เดิมที่พื้นมีรูระบายอากาศขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒ ซม ๒ แห่งต่อมาได้อุดเสีย ต่อมาแม่น้ำพาเอาดินมาถมบริเวณหมู่บ้านเวียงสูงประมาณ ๓ เมตรหรือ ๖ ศอก ส่วนพระเจดีย์นี้จมลงไปในดินประมาณเมตรครึ่ง ต้องขุดแต่งกัน เมืองครหิแห่งนี้หลังจากอาณาจักรศรีวิชัยหมดอำนาจลงก็ถูกทิ้งร้างมาจนถึงสมัยอยุธยา พุทธศาสนาจึงได้ฟื้นฟูขึ้นโดยมีการสร้างพระพุทธรูปศิลาทึบขนาดใหญ่จากหินที่เขานางเอ อยู่หลังสวนโมกข์ มีอยู่ประมาณ ๓๐๐-๔๐๐ องค์
สำหรับคำว่า ไชยา นั้นน่าจะนำมาจากคำว่า ศรีวิชัย ซึ่งขุดพบศิลาจารึกพ.ศ.๑๓๑๘ ที่ระบุชื่อ พระยาศรีวิชัยนั้นว่า ศรีวิชเยนทรราชา,ศรีวิชเยศวรภูบดี และศรีวิชยนฤบดี ที่หมายถึง พระเจ้าแผ่นดินเมืองศรีวิชัย
นั่นหมายถึงศุนย์กลางอำนาจของพวกไศเรนทร(ราชาแห่งจอมเขา)อยู่ที่บริเวณเมืองไชยา ซึ่งเหมาะสมที่จะติดต่อกับอินเดียโดยเฉพาะที่เบ็งคอล และเป็นเหตุให้พระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ที่เป็นฝีมือของช่างแบบปาละแท้เดินทางมาประดิษฐานที่เมืองไชยาได้ โดยเฉพาะการติดต่อมหาวิทยาลัยนาลันทาซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยพุทธศาสนามหายานในเบ็งคอล จนมีความปรากฏในจารึกแผ่นทองแดงพบที่นาลันทาเมื่อพ.ส.๑๓๙๒ ว่า ด้วยการที่ไศเรนทรอุปถัมภ์มหาวิทยาลัยแห่งนั้นไปจากไชยา ในบริเวณเมืองไชยานั้นมีเขาน้ำร้อนเป็นภูเขาประจำวงศ์ไศเรนทรสำหรับใช้ประดิาฐานพระเป็นเจ้าตามลัทธิพราหมณ์ แม้จะมีการนับถือพุทธศาสนาแล้ว ก็ยังยึดถือเป็นประเพณีการอาบน้ำร้อนที่ออกมาจากพุบนเขานั้นถือเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมีการจัดทำสระน้ำสำหรับอาบของพระราชาตามประเพณีของอินเดีย เรื่องนี้หากรวมไปถึงบริเวณเขานางเอ แล้วจะพบว่าหน้าถ้ำนั้นมีสระบัวขนาดใหญ่สองสระ น่าจะมีบริเวณที่เหมาะสมให้ราชาแห่งไศเรนทรสร้างวังประทับร้อนอยู่บนเนินที่เขานี้ เพราะมองเห็นสระน้ำได้สวยงาม และหากจะทิ้งทองประจำวันลงสระตามตำนานราชาแห่งซาบากก็ทำได้
เมืองไชยาโบราณนี้เดิมเป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่กว่าเมืองตามพรลิงค์(เมืองนครศรีธรรมราช)ซึ่งมีชุมชนเมืองเก่า และสร้างเจดีย์พระบรมธาตุไชยา เจดีย์ที่วัดแก้ว เจดีย์ที่วัดเวียง เจดีย์ที่วัดหลง และพระอวโลกติเกศวรอย่างชวาอยู่จำนวนมากโดยเฉพาะพระอวโลกิเตศวรขนาดเท่าคนที่มีชื่อเสียงรู้จักกันดี เส้นทางติดต่อนั้นมีแม่น้ำหลวง(แม่น้ำตาปี)ไหลผ่าน เมื่อสำรวจเส้นทางน้ำพบว่าไปได้ถึงคีรีรัฐซึ่งมีทางข้ามไปลงที่แม่น้ำตะกั่วป่าได้อย่างสบาย น่าจะเป็นเส้นทางเดินของชาวอินเดียทางหนึ่ง สำหรับเมืองตามพรลิงค์นั้นมีพระมหาธาตุองค์เดียว เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นในสมัยหลัง และมีหาดทรายแก้วกับลุ่มแม่น้ำน้อย ประการสำคัญอ่าวบ้านดอนนั้นเป็นแหล่งที่เรือสินค้าจากจีนใช้เป็นท่าจอดเรือในสมัยโบราณได้ และรอบอ่าวบ้านดอนนั้นก็เป็นแหล่งเกษตรกรรมสำคัญ ในจารึกพ.ศ.๑๗๗๓ ระบุว่า พระเจ้าจันทภาณุยังมีอำนาจอยู่เหนือดินแดนรอบอ่านบ้านดอน
สำหรับเมืองครหินั้นน่าจะอยู่แถวใต้เขมรลงมาทางญวน หรือแถวคอคอดกระ
พุทธศาสนาแบบมหายานเจริญรุ่งเรืองในอาณาจักรศรีวิชัย หลวงจีนอี้จิง เคยเดินทางจากเมืองกวางตุ้งประเทศจีนทางเรือของอาหรับผ่านฟูนัน มาพักที่อาณาจักรศรีวิชัยนี้ ในเดือน ๑๑ พ.ศ. ๑๒๑๔ เป็นเวลาสองเดือน ก่อนที่จะเดินทางต่อผ่านเมืองไทรบุรี ผ่านหมู่เกาะคนเปลือยนิโคบาร์ ถึงเมืองท่าตามรลิปติที่อินเดีย เพื่อสืบพระพุทธศาสนา หลวงจีนอี้จิงบันทึกไว้ว่า ประชาชนทางใต้ของแหลมมลายูส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งได้อิทธิพลมาจากพ่อค้ามุสลิมอาหรับ ที่เดินทางผ่านเพื่อไปยังประเทศจีน ศาสนาอิสลามได้เผยแผ่ไปยัง มะละกา กลันตัน ตรังกานู ปาหัง และปัตตานีจนกลายเป็นรัฐอิสลามไป
ต่อมาในพ.ศ.๑๕๖๘(ค.ศ. 1025) อาณาจักรศรีวิชัยถูกอาณาจักรโจฬะ จากอินเดียตะวันออกเฉียงใต้ ยกทัพเรือเข้าโจมตีทำให้อ่อนกำลังลง หลังจากนั้นในพ.ส.๑๙๔๐ อาณาจักรศรีวิชัยได้ตกอยู่ใต้อำนาจของอาณาจักรมัชปาหิต ที่มีอำนาจจากชวา
อาณาจักรสุโขทัยในสมัยพ่อขุนรามคำแหงนั้นได้แผ่อำนาจลงมายังหัวเมืองต่างๆตลอดแหลมมาลายู และมีเมืองนครศรีธรรมราช เป็นเมืองสำคัญที่คอยดูแลหัวเมืองทางใต้
http://www.siamrecorder.com/h/28.htm
อาณาจักรโบราณในภาคใต้ของไทย ในเอกสารของลังกา ซึ่งเขียนเมื่อปี พ.ศ.1935 เรียกแคว้นนี้ว่า ตามลิงคัม ฉบับแปลครั้งแรกในพุทธศตววรรษที่ 20 ในรัชสมัยพระเจ้าปรากรมพาหุที่ 2 เรียกแคว้นนี้ว่า ตามลิงโคมุ
อาณาจักรตามพรลิงค์ บางท่านว่า อยู่บริเวณเมืองนครศรีธรรมราช บางท่านว่าตั้งอยู่ระหว่างไชยากับปัตตานี ศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ ลงความเห็นว่า เมืองหลวงของตามพรลิงค์อยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราช โดยอ้างจารึกที่วัดหัวเวียง อ.ไชยา จ.สุราษฎณ์ธานี ซึ่งมีความว่า "พระเจ้าผู้ปกครองเมืองตามพรลิงค์ เป็นหัวหน้าของพระราชวงศ์... "ทรงพระนามศรีธรรมราช" อีกตอนหนึ่งว่า "ทรงพระนามจันทรภาณุ ศรีธรรมราช เมื่อกลียุค 4332..."
ในจดหมายเหตุจีนเรียกว่า ตัน - มา - ลิง บางท่านเข้าใจว่าหมายถึงนครศรีธรรมราชหรือไชยา จดหมายเหตุของพระภิกษุอิจิง ได้กล่าวถึงอาณาจักรตามพรลิงค์ไว้ว่า ผู้ครองอาณาจักรตันมาลิงนี้เรียกว่า เสียงกุ่ง รอบเมืองนี้มีกำแพงเสาพะเนียดหนาประมาณ 6 ฟุต ถึง 7 ฟุต สูงกว่า 20 ฟุต (หน่วยน่าจะเป็นศอก ในภาษาจีน - เพิ่มเติม) ซึ่งสามารถใช้ในการรบพุ่งได้ ชาวเมืองขี่ควาย เกล้ามวยผมไว้ข้างหลัง เดินเท้าเปล่า บ้านของขุนนางสร้างด้วยไม้ ส่วนบ้านของชาวเมืองนั้นเป็นกระท่อมไม้ไผ่ มีฝากั้น ทำด้วยใบไม้ ขัดด้วยหวาย
อาณาจักรตามพรลิงค์ ตั้งขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 7
ตามจารึกของพระเจ้าราเชนทรโจฬะ (พ.ศ.1573 - 1574) พบที่ตันโจร์ ประเทศอินโดนิเซีย กล่าวว่าทรงกรีธาทัพมาตีได้เมืองมาทมาลิงคัม (ตามพรลิงค์ )
กษัตริย์อาณาจักรตามพรลิงค์องค์สำคัญคือ พระเจ้าจันทรภาณุได้ทรงกรีธาทัพไปตีลังการวมสองครั้ง กองทัพของพระองค์มีชาวทมิฬรวมอยู่ด้วย ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.1790 ทรงยกทัพขึ้นบกที่ภาคใต้ของลังกา ถูกทัพเจ้าวีรพาหุ ตีแตกพ่ายต้องถอยกลับมา ครั้งที่สองระหว่างปี พ.ศ.1801 - 3 ทรงยกพลขึ้นบกที่มหาติตถะ แต่ต้องพ่ายแพ้แก่ทัพลังกา ซึ่งมีเจ้าชายวีรพาหุ และเจ้าชายวิชัยพาหุ เป็นแม่ทัพ พระเจ้าจันทรภาณุได้ทรงชักจูงให้ชาวทมิฬเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ตามพรลิงค์ จึงมีชาวทมิฬเข้ามาอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทยมากขึ้น นับแต่นั้นมา
ในยามสงบ ศรีลังกากับตามพรลิงค์มีความสัมพันธ์ทางด้านพระพุทธศาสนา พระเจ้าปรากรมพาหุได้ส่งสิ่งของ โดยมีศาสนวัตถุสำคัญรวมอยู่ด้วยมาถวายพระเจ้าจันทรภาณุ เพื่อขอให้นิมนต์พระธัมกิตติเถระไปที่ประเทศศรีลังกา หนังสือชินกาลบาลีปกรณ์กล่าวว่า ในปี พ.ศ.1799 มีเจ้าผู้ครองศิริธัมมนคร ทรงพระนามว่า สิริธรรมราช ด้วยโรจราช (พระร่วง ผู้ครองเมืองสุโขทัยได้ทรงส่งทูตานุทูตไปลังกา เพื่อขอรับพระพุทธสิงหิงค์
ตามพรลิงค์นี้ เป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรศรีวิชัย ตั้งแต่ปี พ.ศ.1318 - พ.ศ.1773 ในปี พ.ศ.1773 พระเจ้าจันทรภาณุตั้งแข็งเมืองไม่ขึ้นกับอาณาจักรศรีวิชัย แต่มีความสัมพันธ์อันดีกับอาณาจักรสุโขทัย
http://www.baanjomyut.com/library/knowledge_of_encyclopedias/179.html
อาณาจักรทวารวดี (พุทธศัตวรรษที่ 11 – 16) เป็นชื่อที่ใช้เรียกอาณาจักรทางแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง เป็นอาณาจักรที่ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมจากศาสนาพราหมณ์จากอินเดีย เป็นแหล่งชุมชนขนาดใหญ่มี เมืองนครปฐม เป็นศูนย์กลาง หลวงจีนอี้จิง หรือ พระภิกษุอีจิ๋น และ หลวงจีนเฮียนจัง (ยวนฉ่าง) พ.ศ. 1150 ได้กล่าวไว้ในจดเหตุของท่านว่า มีอาณาจักรอันใหญ่โตอาณาจักรหนึ่ง อยู่ในระหว่างเมืองศรีเกษตร (พม่า) และอิสานปุระ (เขมร) ชื่อ โดโลปอดี้ (ทวารวดี) และอาณาจักรนี้เป็นอาณาจักรที่นักโบราณคดีได้สำรวจพบโบราณสถาน และพระพุทธรูป ที่สร้างตามแบบฝีมือช่างในสมัยราชวงศ์คุปตะของอินเดีย (พ.ศ.860 – 1150) เป็นจำนวนมากที่นครปฐม และแถบเมืองที่ตั้งอยู่ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา เรื่องไปทางภาคะวันออกเฉียงเหนือ จนถึงเมืองนครราชสีมา และเมืองบุรีรัมย์
ในสมัยก่อนพุทธศตวรรษที่ 11 ดินแดนอาณาจักรสุวรรณภูมิได้ครอบครองโดยแคว้นอิศานปุระของอาณาจักรฟูนัน (หรือฟูนาน) และอาณาจักรเจนละ (หรือเจินละ) ซึ่งปรากฏหลักฐานว่า ขณะที่อาณาจักรฟูนันสลายตัวลงในพุทธศตวรรษที่ 11 นั้น ได้มีชนชาติหนึ่งที่แตกต่างกับชาวเจนละ ในด้านศาสนาและศิลปกรรม ได้มีอิทธิพลเข้าครอบครองดินแดนทางตะวันตกของอาณาจักรเจนละตั้งแต่เมืองเพชรบุรี เมืองราชบุรีขึ้นไปทางเหนือจนถึงเมืองลำพูน
จดหมายเหตุของภิกษุจีนชื่อ เหี้ยนจั๋ง หรือ พระถังซัมจั๋ง (Hieun Tsing) ซึ่งเดินทางจากเมืองจีนไปประเทศอินเดียทางบก ราว พ.ศ. 1172 – 1188 และพระภิกษุจีนชื่อ อี้จิง (I-Sing) ได้เดินทางไปอินเดียทางทะเลในช่วงเวลาต่อมานั้น ได้เรียกอาณาจักรใหญ่แห่งนี้ตามสำเนียงชนพื้นเมืองในอินเดียว่า “โลโปตี้” หรือ จุยล่อพัดดี้ (ทวารวดี) เป็นอาณาจักรที่ตั้งอยู่ระหว่างเมืองศรีเกษตร (อยู่ในพม่า) ไปทางตะวันออกกับเมืองอิศานปุระ (อยู่ในเขมร) ปัจจุบันคือ ส่วนที่เป็นดินแดนภาคกลางของประเทศไทย พงศาวดารจีนสมัยราชวงศ์ฮั่น ได้กล่าวถึงดินแดนแห่งนี้ไว้ว่า “สามารถเดินเรือจากเมืองกวางตุ้งถึงอาณาจักรทวารวดีได้ในเวลา 5 เดือน” ในสมัยแรกๆ ได้มีการสร้างพระปฐมเจดีย์ คือราว ๆ พ.ศ. 300 เคยมีอำนาจสูงสุดครั้งหนึ่ง และเคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 11 – 16) ปูชนียสถานที่ใหญ่โตสร้างไว้เป็นจำนวนมาก และยังเหลือปรากฎเป็นโบราณสถานอยู่ในปัจจุบัน วัดพระประโทนเจดีย์ วัดพระเมรุ วัดพระงาม และวัดดอยยาหอม เป็นต้น โบราณสถานที่ค้นพบล้วนเป็นฝีมือประณีต งดงาม มีเครื่องประดบร่างกายสตรีทำด้วยดีบุก เงิน และทอง รูปปูนปั้น มีหลักฐานทางโบราณวัตถุหลายชิ้นที่แสดงถึงการติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศ เช่น จีน และที่จังหวัดสุพรรณบุรี สิงห์บุรี และชัยนาท ได้พบเหรียญเงินที่มีจารึก “ทวารวดี” ประทับอยู่ด้วย นครปฐมมีกษัตริย์ปกครองหลายพระองค์ เพราะปรากฏว่าได้พบปราสาทราชวังเหลือซากอยู่ เช่น ตรงเนินปราสาทในพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐมเป็นเมืองที่มีการทำเงินขึ้นใช้เอง มีการค้นพบหลักฐาน เงินตราสมัยนั้นหลายรูปแบบ เช่น รูปสังข์ ประสาท ตราแพะ ตราปรูณกลศ (หม้อน้ำที่มีน้ำเต็ม) จึงเป็นสิ่งยืนยันว่า อาณาจักรทวารวดีเป็นอาณาจักรที่มีความรุ่งเรืองมากอาณาจักรหนึ่ง
นอกจากนี้ได้มีการค้นพบจารึกโบราณที่เขียนด้วยภาษามอญ ในบริเวณจังหวัดนครปฐม สุพรณณบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท ลพบุรี และในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สันนิษฐานว่าชาวมอญหรือคนที่พูดภาษาตระกูลมอญ – เขมร เป็นเจ้าของอารยธรรมของทวารวดี และการที่อาณาจักร ทวารวดีตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง และอยู่ใกล้ทะเลทำให้มีพ่อค้าต่างชาติ เช่น อินเดีย เข้ามาติดต่อค้าขาย ทำให้ทวารวดีได้รับอิทธิพลของพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนแบบแผนการปกครองจากอินเดีย เกิดการผสมผสานจนกลายเป็นอารยธรรมทวารวดี และได้แพร่หลายไปยังภูมิภาคต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังได้พบโบราณสถาน โบราณวัตถุสมัยทวารวดีกระจายอยู่ทั่วไป เช่นที่ เมืองนครชัยศรี (นครปฐม) เมืองอู่ทอง (สุพรรณบุรี) เมืองละโว้ (ลพบุรี) เมืองศรีเทพ (เพชรบูรณ์) เมืองฟาแดดสงยาง (กาฬสินธุ์) เมืองไชยา (สุราษฎร์ธานี) เป็นต้น
ทวารวดีได้รับอิทธิพลจากอินเดียหลายอย่าง เช่น ด้านการปกครอง รับความเชื่อเรื่องการปกครองโดยกษัตริย์ สันนิษฐานว่าการปกครองสมัยทวารวดีแบ่งออกเปป็นแคว้น มีเจ้านายปกครองตนเอง แต่มีความสัมพันธ์ในลักษณะเครือญาติ การแบ่งชนชั้นในสังคมออกเป็นชนชั้นปกครองกับชนชั้นที่ถูกปกครองหลักฐานทางโบราณคดีที่พบในสมัยพุทธศตวรรษที่ 11 – 13 คือเหรียญเงินเส้นผ่าศูนย์กลาง 19 ม.ม. พบที่นนคปฐม และอู่ทอง พบว่ามีอักษรจารึกไว้ว่า “ศรีทวารวดีศวร” และ มีรูปหม้อน้ำกลศอยู่อีกด้านหนึ่ง ทำให้ชื่อได้ว่าชนชาติมอญโบราณได้ตั้งอาณาจักรทวารวดี (บางแห่งเรียก ทวาราวดี) ขึ้นในภาคกลางของดินแดนสุวรรณภูมิ และมีชุมชนเมืองสมัยทวารวดีสำคัญหลายแห่งได้แก่ เมืองนครชัยศรี (นครปฐมโบราณ น่าจะเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรในกลุ่มแม่น้ำท่าจีน) เมืองอู่ทอง (จังหวัดสุพรรณบุรีในลุ่มแม่น้ำท่าจีน) เมืองพงตึก (จังหวัดกาญจนบุรี ในลุ่มแม่น้ำแม่กลอง) เมืองละโว้ (จังหวัดลพบุรี ในลุ่มแม่น้ำลพบุรี) เมืองคูบัว (จังหวัดราชบุรี) ในลุ่มแม่น้ำเมืองอู่ตะเภา (บ้านอู่ตะเภา อ.มโนรมย์ จังหวัดชัยนาท ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา) เมืองบ้านด้าย (ต.หนองเต่า อ.เมือง จ.อุทัยธี ในแควตากแดด) เมืองซับจำปา (บ้านซับจำปา จังหวัดชัยนาทในลุ่มแม่น้ำป่าสัก) เมืองขีดขิน (อยู่ในจังหวัดสระบุรี) และบ้านคูเมือง (ที่อำเภออินทรบุรี) จังหวัดนอกจากนั้นพบเมืองโบราณสมัยทวารวดีอีกหลายแห่ง เช่น ที่บ้านหนองปรง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี รวมทั้งหมู่บ้านในเขตอำเภอบ้านหมี่ และโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี เป็นต้น
ชุมชนเมืองสมัยทวารวดีในภาคเหนือ พบที่เมืองจันเสน (ต.จันเสน อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ ลุ่มแม่น้ำลพบุรี) เมืองบึงโคกช้าง (ต.ไผ่เขียว อ.สว่างอารมณ์ จ.อุทัยธานี ในแควตากแดด ลุ่มแม่น้ำสะแกกรัง) เมืองศรีเทพ (จ.เพชรบูรณ์ ลุ่มแม่น้ำป่าสัก) เมืองหริภุญชัย (จ.ลำพูน ลุ่มแม่น้ำปิง) และเมืองบน (อ.พยุหคีรี จ.นครสวรรค์ ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา)
ชุมชนเมืองสมัยทวารวดีที่อยู่ในภาคตะวันออก มีเมืองโบราณสมัยทวารวดีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 11 – 18 อยู่ที่เมืองพระรถ (ต.หน้าพระธาตุ อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี ซึ่งค้นพบถ้วยเปอร์เซียสีฟ้า) มีถนนโบราณติดต่อกับเมืองศรีพะโล ซึ่งเป็นเมืองท่าสมัยพุทธศตวรรษที่ 15 – 21 (อยู่ที่ ต.หนองไม้แดง อ.เมือง จ.ชลบุรี ลุ่มแม่น้ำบางปะกง) ซึ่งพบเครื่องถ้วยจีนและญี่ปุ่น จากเตาอะริตะแบบอิมาริ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 22 และติดต่ดถึงเมืองสมัยทวารวดีที่อยู่ใกล้เคียงกันเช่นเมืองศรีมโหสถ (อ.โคกปีบ จ.ปราจีนบุรี) เมืองดงละคร (จ.นครนายก) เมืองท้าวอุทัย และบ้านคูเมือง (จ.ฉะเชิงเทรา)
ชุมชนเมืองสมัยทวารวดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นจึงเป็นดินแดนของชนชาติมอญโบราณ มีศูนย์กลางที่เมืองนครปฐมโบราณ (ลุ่มแม่น้ำท่าจีนหรือนครชัยศรี) กับเมืองอู่ทองและเมืองละโว้ (ลพบุรี) ต่อมาได้ขยายอำนาจขึ้นไปถึงเมืองหริภุญชัยหรือลำพูน มีหลักฐานเล่าไว้ว่า ราว พ.ศ.1100 พระนางจามเทวีราชธิดาของเจ้าเมืองลวปุระหรือละโว้ (ลพบุรี) ได้อพยพผู้คนขึ้นไปตั้งเมืองหริภุญชัยที่ลำพูน ส่วนที่เมืองนครปฐมนั้นมีการพบ พระปฐมเจดีย์ ซึ่งเชื่อว่าบรรจุพระพบรมธาตุของพระพุทธเจ้า เมื่อแรกสร้างมีลักษณะคล้ายสถูปแบบสาญจี ที่พระเจ้าอโศกมหาราชสร้างไว้ในอินเดีย เมื่อพุทธศตวรรษที่ 3 – 4 และมีการพบจารึกภาษาปัลลวะ บาลี สันสกฤต และภาษามอญ ที่บริเวณพระปฐมเจดีย์และบริเวณใกล้เคียงพบจารึกภาษามอญอักษรปัลลวะ บันทึกเรื่องการสร้างพระพุทธรูป อายุราว พ.ศ. 1200 (ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พระปฐมเจดีย์) และพบจารึกมอญที่ลำพูน อายุราว พ.ศ. 1628 (ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ หริภุญไชย จังหวัดลำพูน)
สำหรับเมืองอู่ทองนั้นตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำจระเข้สามพัน เดิมเป็นสาขาของแม่น้ำท่าจีน ซึ่งเปลี่ยนทางเดิน ด้วยปรากฏมีเนินดินและคูเมืองโบราณเป็นรูปวงรี กว้างประมาณ 1 กิโลเมตร ยาวประมาณ 2 กิโลเมตร มีป้อมปราการก่อด้วยศิลาแลง มีการพบโบราณวัตถุอายุสมัยปี พ.ศ. 600 – 1600 จำนวนมาก นอกจากนี้ยังได้สำรวจพบแหล่งโบราณคดีที่สำคัญอีกหลายแห่ง เช่น แหล่งโบราณคดีที่โบราณสถานคอดช้างดิน ต.จรเข้สามพัน อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี พบเงินเหรียญสมัยทวารวดีเป็นตรารูป แพะ สายฟ้า พระอาทิตย์ พระจันทร์ และรูปหอยสังข์ บางเหรียญจารึกอักษรปัลลวะและพบปูนปั้นรูปสตรีหลายคนเล่นดนตรีชนิดต่างๆ เป็นต้น เป็นหลักฐานชี้ให้เห็นว่าเมืองอู่ทองมีฐานะเป็นเมืองสำคัญแห่งหนึ่งของอาณาจักรทวารวดี เมืองนครไชยศรีโบราณ ซึ่งอยู่บริเวณที่ตั้งของวัดจุประโทณ จังหวัดนครปฐม และพบคูเมืองโบราณรูปสีเหลี่ยม ขนาด 3,600 x 2,000 เมตร มีลำน้ำบางแก้วไหลผ่านกลางเมืองโบราณออไปตัดคลองพระประโทณ ผ่านคลองพระยากง บ้านเพนียด บ้านกลาง บ้านนางแก้ว แล้วออกสู่แม่น้ำนครไชยศรี พบโบราณวัตถุสมัยทวารวดีจำนวนหนึ่ง ซึ่งเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ หลักฐานสำคัญของพุทธศาสนาสมัยทวารวดีนั้นพบที่ วัดโพธิ์ชัยเสมาราม เมืองฟ้าแดดสงยาง (หรือฟ้าแดดสูงยาง) อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ใกล้แม่น้ำซี ได้ค้นพบเสมาหินจำนวนมาก เป็นเสมาหินทรายสมัยทวารวดี ขนาดใหญ่อายุราว 1,200 ปี มีอายุเก่าแก่กว่าสมัยนครวัดของอาณาจักรขอม ใบเสมานั้นจำหลักเรื่องพุทธประวัติโดยได้รับอิทธิพลมาจากศิลปแบบคุปตะของอินเดีย และได้พบเสมหินบางแท่งมีจารึกอัการปัลลวะของอินเดียด้วย
สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้กล่าวถึงการสิ้นสุดของอาณาจักรทวารวดีไว้ว่า “พระเจ้าอนุรุทรมหาราชแห่งเมืองพุกามประเทศพม่า ทรงยกกองทัพเข้ามาโจมตีอาณาจักรทวารวดี จนทำให้อาณาจักรทวารวดีสลายสูญไป”ต่อมาอาณาจักรขอมหลังจากพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สวรรคต ใน พ.ศ.1732 อำนาจก็เริ่มเสื่อมลงทำหให้บรรดาเมืองประเทศราชที่อยู่ในอิทธิพลของขอมต่างพากันตั้งตัวเป็นอิสระ ดังนั้นในปลายพุทธศตวรรษที่ 18 พ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง และพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด ซึ่งได้พระนางสิขรเทวี พระธิดาขอมเป็นมเหสี และได้รับพระนามว่า “ขุนศรีอินทราทิตย์” พร้อมพระขรรค์ชัยศรี ได้ร่วมกันทำการยึดอำนาจจากขอม และให้พ่อขุนบางกลางหาว สถาปนาเป็น พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ และประกาศตั้งอาณาจักรสุโขทัยเป็นอิสระจากการปกครองของขอม
อาณาจักรทวารวดีมีความเจริญรุ่งเรืองอยู่ประมาณ 200 ปี จีงค่อยๆ เสื่อมลง พวกขอมขณะนั้นกำลังรุ่งเรืองก็ถือโอกาสตีเมืองทวารวดี ที่ละเมืองสองเมือง จนถึง พ.ศ. 1500 อาณาจักรทวารวดีก็เสื่อมลง และตกอยู่ในอำนาจของพวกขอม พวกขอมได้กวาดต้อนผู้คนไปเป็นเชลย นำไปใช้เป็นทาสทำงานต่างๆ จนถึง พ.ศ. 1800 คนไทยในหัวเมืองต่างๆ ในแคว้นสุวรรณภูมิ เช่น ลพบุรี อู่ทอง กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ได้ร่วมกันยึดอำนาจการปกครองจากขอมได้สำเร็จ แต่เมืองนครปฐมได้กลายเป็นเมืองร้างไปเสียแล้ว เนื่องจากแม่ท่าจีน และแม่น้ำแม่กลองที่ไหลผ่านเมืองทวารวดีได้เปลี่ยนทิศทางใหม่ ไหลผ่านจากตัวเมืองไปมาก จนทำให้นครปฐม (ทวารวดี) เป็นที่ดอนขึ้น ไม่เหมาะที่จะทำไร่ทำนา ผู้คนจึงอพยพย้ายถิ่นไปอยู่ในเมืองอื่น
ดินแดนล้านนาอยู่ในเขตภาคเหนือของประเทศไทย และตั้งอยู่ในภาคพื้นทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาและหุบเขา มีพื้นที่ราบระหว่างหุบเขา เทือกเขาสูงเหล่านี้จะต่อเนื่องมาจากเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาในแคว้นยูนนานของจีน จึงทำให้ลักษณะทิวเขาในภาคเหนือเป็นแนวยาวขนานกันจากแนวทิศเหนือ – ใต้ ซึ่งได้แก่
1. ทิวเขาแดนลาว อยู่ทางทิศเหนือ
2. ทิวเขาถนนธงชัย อยู่ทางทิศตะวันตก
3. ทิวเขาผีปันน้ำ อยู่ตอนกลางของภาค
4. ทิวเขาหลวงพระบาง อยู่ทางทิศตะวันออก
สำหรับพื้นที่ราบเหมาะแก่การตั้งชุมชนและแหล่งทำกินนั้นมีเพียง ¼ ของพื้นที่ทั้งหมด โดยพื้นที่จะมีลักษณะเป็นแอ่งลึกลงไป มีภูเขาสูงล้อมรอบพื้นที่แต่ละแอ่ง พื้นที่ราบนี้จะมีลักษณะเป็นแนวแคบและยาวในแนวจากทิศเหนือ – ใต้ กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในเขตภาคเหนือ ซึ่งแอ่งเหล่านี้คือแหล่งกำเนิดทางวัฒนธรรมที่สำคัญของอาณาจักรล้านนา อันได้แก่ แอ่งเชียงใหม่ – ลำพูน, แอ่งลำปาง, แอ่งเชียงราย – พะเยา, แอ่งแพร่, และสุดท้ายคือแอ่งน่าน แอ่งทั้งหลายเหล่านี้ต่างมีแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่านและหล่อเลี้ยงผู้คนในพื้นที่ ซึ่งแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ด้วยกัน คือ
แม่น้ำสายใหญ่ที่ไหลลงไปสู่ทิศใต้ ได้แก่ ปิง, วัง, ยม, น่าน หลังจากนั้นจึงไหลไปรวมกับแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำที่ถือว่ามีความสำคัญและเป็นเส้นทางน้ำที่มีบทบาทมากที่สุดของวัฒนธรรมล้านนามาแต่โบราณ คือ แม่น้ำปิ
แม่น้ำซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของภาค ได้แก่ ปาย, ยวม, เมย ซึ่งอยู่ในเขตของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ลักษณะพิเศษของสายน้ำเหล่านี้คือจะไม่ไหลมายังตอนกลางของภาค แต่กลับไหลย้อนไปทางทิศเหนือแล้วไหลลงสู่แม่น้ำสาละวินต่อไป
แม่น้ำซึ่งอยู่ทางตอนบนของภาค ได้แก่ กก, อิง, ฝาง, ลาว ซึ่งอยู่ในเขตของจังหวัดเชียงราย แม่น้ำเหล่านี้มีลักษณะเช่นเดียวกับแม่น้ำที่อยู่ทางทิศตะวันตกของภาคเหนือ คือจะไม่ไหลมายังตอนกลางของภาค แต่จะไหลย้อนกลับไปทางทิศเหนือ หลังจากนั้นจึงไหลลงสู่แม่น้ำโขงต่อไป
สำหรับเมืองสำคัญของล้านนาซึ่งตั้งอยู่ตามที่ราบระหว่างหุบเขา สามารถแบ่งตามสภาพทางภูมิศาสตร์และความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ
1. กลุ่มเมืองล้านนาตะวันตก ประกอบไปด้วย เชียงใหม่, ลำพูน, ลำปาง, เชียงราย, และพะเยา โดยเมืองดังกล่าวจะกระจายกันไปอยู่บนที่ราบ 3 แห่ง คือ แอ่งเชียงใหม่ – ลำพูน, แอ่งเชียงราย – พะเยา, และแอ่งลำปาง แต่เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวนี้ได้ถูกผนวกเข้าด้วยกันนับตั้งแต่สมัยราชวงศ์มังรายเป็นต้นมา จึงทำให้มีประวัติความเป็นมาที่ร่วมสมัยกัน และพอมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีของสยามประเทศ ล้านนาได้อยู่ภายใต้การปกครองของสยามและอยู่ในช่วงฟื้นฟูล้านนา หรือที่เรียกกันว่ายุค “ เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง ” โดยมีเจ้านายในเชื้อสายตระกูลเจ้าเจ็ดตนแยกกันออกไปปกครองในแต่ละเมือง จึงทำให้มีความสัมพันธ์ระหว่างกันตั้งแต่ราชวงศ์มังรายจนกระทั่งถึงเจ้านายในเชื้อสายเจ้าเจ็ดตน ดังนั้นกลุ่มเมืองนี้จึงมีพื้นฐานความเป็นอยู่ ประเพณี ศาสนา ความเชื่อและศิลปวัฒนธรรมที่มีความคล้ายคลึงและใกล้เคียงกันมาก โดยมีศูนย์กลางสำคัญของอาณาจักรตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันอยู่ในที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง คือ เมืองเชียงใหม่
2. กลุ่มเมืองล้านนาตะวันออก มีเมืองแพร่, น่าน ซึ่งตั้งอยู่บนที่ราบสองแห่งด้วยกัน คือ แอ่งแพร่และแอ่งน่านตามลำดับ ทั้งสองเมืองตั้งอยู่บนพื้นที่ราบขนาดเล็กและมีประวัติความเป็นมาที่คล้ายคลึงกัน นั่นคือในสมัยแรกเริ่มต่างมีฐานะเป็นรัฐอิสระมีราชวงศ์ของตนเองและมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอาณาจักรสุโขทัย และได้ถูกผนวกดินแดนเข้ากับอาณาจักรล้านนาในสมัยพระเจ้าติโลกราช ฉะนั้นจึงไม่ค่อยผูกพันกับเมืองเชียงใหม่ซึ่งเป็นศูนย์กลางสำคัญของอาณาจักรล้านนา ครั้นถึงในสมัยฟื้นฟูล้านนาซึ่งอยู่ร่วมสมัยกันกับกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าผู้ครองเมืองน่านและเมืองแพร่ต่างก็มีเจ้าผู้ครองนครอยู่คนละสายกับเจ้านายในตระกูลเจ้าเจ็ดตน
การตั้งถิ่นฐานในภาคเหนือจะมีลักษณะเด่นคือ กลุ่มเมืองจะกระจายตัวตามแอ่งหรือที่ราบลุ่มแม่น้ำ ลักษณะการตั้งถิ่นฐานจะยาวตามลำน้ำ ตามที่ราบจะมีชุมชนหนาแน่น ส่วนบนพื้นที่สูงจะมีประชากรเบาบางและเป็นที่อยู่ของชาวลัวะและยาง ซึ่งดำรงชีวิตด้วยการปลูกข้าวไร่และพืชไร่ต่างๆ ดังนั้นวิถีชีวิตของคนพื้นราบกับคนบนพื้นที่สูงจึงต่างกัน อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการกระจายตัวไปตามแอ่งต่างๆที่มีภูเขาขวางกั้นนั่นเอง จึงทำให้แต่ละเมืองติดต่อกันลำบาก ดังนั้นแต่ละเมืองจึงมีลักษณะเฉพาะถิ่นของตน เช่น ภาษาท้องถิ่น จะพบว่ามีสำเนียง, คำศัพท์เฉพาะถิ่นต่างกันไป แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีความเข้าใจและอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
เนื่องจากการมีพื้นฐานทางประวัติศาสตร์ร่วมกันมาอย่างยาวนาน จึงทำให้มีความเชื่อ ประเพณี ศิลปวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน แต่จะแตกต่างกันไปบ้างก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านความเป็นอยู่ที่ต่างกันของแต่ละท้องถิ่นเป็นตัวกำหนดสำคัญ
ในปัจจุบันคำว่า “ ล้านนา ” เป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่าหมายถึง 8 จังหวัดของภาคเหนือ คือ เชียงใหม่, ลำพูน, ลำปาง, เชียงราย, พะเยา, แพร่, น่าน, และแม่ฮ่องสอน โดยมีศูนย์กลางสำคัญของดินแดนล้านนานับจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน คือ เมืองเชียงใหม่ ซึ่งมีอายุครบ 700 ปีนับตั้งแต่ก่อตั้งอาณาจักรโดยพญามังรายจนกระทั่งถึง พ.ศ. 2539
ขอขอบคุณ http://www.digitalschool.club/digitalschool/art/art4_1/lesson2/web3.php
อาณาจักรนครศรีธรรมราช หรือ อาณาจักรลิกอร์ คือหนึ่งในเมืองหลักในอาณาจักรสุโขทัยและอาณาจักรอยุธยาของสยาม และครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ในคาบสมุทรมลายู โดยมีนครศรีธรรมราชเป็นศูนย์กลาง
การก่อตั้งและสมัยสุโขทัย
นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่วิเคราะห์ว่าก่อนหน้าอาณาจักรนี้ เคยมีอาณาจักรตามพรลิงค์ (ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 10 ถึง 13) มาก่อน ในช่วงปลายสหัสวรรษที่ 1 ถึงต้นสหัสวรรษที่ 2 ก่อนคริสต์ศักราช ชาวไทได้ขยายเผ่าพันธุ์ไปทั่วแผ่นดินใหญ่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 พวกเขาได้ตั้งนครศรีธรรมราชเป็น เมือง หรือรัฐของตน
จารึกพ่อขุนรามคำแหงได้กล่าวถึงนครศรีธรรมราชว่าเป็นประเทศราชของอาณาจักรสุโขทัย อาจปกครองโดยผู้เป็นญาติกับพ่อขุนรามคำแหง ธรรมเนียมพุทธเถรวาทแบบนครศรีธรรมราชได้กลายเป็นตัวแบบหนึ่งสำหรับทั้งอาณาจักร การเป็นเมืองขึ้นต่อสุโขทัยเป็นแค่ส่วนบุคคล ไม่ใช่สถาบัน ดังนั้น หลังพ่อขุนรามคำแหงสวรรคต นครศรีธรรมราชจึงเป็นอิสระและกลายเป็นรัฐไทยที่โดดเด่นในคาบสมุทรมลายู
เมืองนักษัตร
ตราปัจจุบันของจังหวัดนครศรีธรรมราชที่มีวงกลมสิบสองเมือง นักษัตร
พงศาวดารนครศรีธรรมราชและพงศาวดารพระธาตุนครในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ระบุว่า นครศรีธรรมราชล้อมรอบด้วยเครือข่ายเมืองในคาบสมุทรมลายู เรียกว่า เมืองสิบสองนักษัตร เมืองเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นเมืองส่วนนอกล้อมรอบศูนย์กลางคือนครศรีธรรมราช และเชื่อมต่อกันทางบกเพื่อให้สามารถส่งกองทัพจากเมืองหนึ่งไปยังอีกเมืองหนึ่งได้หากถูกโจมตีอย่างกะทันหัน
หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุ รัชนี ระบุเมืองและสัญลักษณ์จักรราศีสิบเอ็ดเมืองจากสิบสองเมืองในคาบสมุทรมลายู ได้แก่ นราธิวาส (ชวด), ปัตตานี (ฉลู), กลันตัน (ขาล), ไทรบุรี (มะโรง), พัทลุง (มะเส็ง), ตรัง (มะเมีย), ชุมพร (มะแม), กระบี่ (วอก), ท่าชนะ (ระกา), ภูเก็ต (จอ), กระบุรี (กุน) ตำแหน่งที่ตั้งที่แน่ชัดของเมืองปะหังซึ่งถือตราเถาะยังไม่เป็นที่ทราบ
อย่างไรก็ตาม ไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ระบุว่านครศรีธรรมราชควบคุมเมืองเหล่านั้นจริง ๆ รายงานอื่น ๆ จากสมัยเดียวกันไม่ค่อยมีการบันทึกว่านครศรีธรรมราชมีบทบาทพิเศษในคาบสมุทรมลายู คำกล่าวจากพงศาวดารน่าจะเป็นการสะท้อนถึงการอ้างอำนาจของสยามเหนือภูมิภาคมลายูทางทิศใต้ในสมัยอยุธยาตอนกลาง
เมื่อผ่าน 70% จะได้รับเกียรติบัตรแบบนี้ !!!! 🌎🌎